วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

GPS


GPS คืออะไร

GPS ย่อมาจาก Global Positioning System หรือ "ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก"
ชื่อเต็มของระบบนี้คือ  NAVSTAR  Global  Positioning  System คำว่า  NAVSTAR เป็นอักษรย่อมาจาก  Navigation  Satellite  Timing  and  Ranging ภาคของคำว่าดาวเทียมสำหรับนำร่อง คือระบบที่ระบุตำแหน่งทุกแห่งบนโลก
เป็นระบบบอกตำแหน่งบนพื้นผิวโลก โดยอาศัยการคำนวณพิกัด จากดาวเทียมระบุตำแหน่ง จำนวน 24 ดวง ที่โคจรอยู่รอบโลก ในระดับสูงประมาณ 20,000 กิโลเมตร ทำให้สามารถชี้บอกตำแหน่งได้ทุกแห่งบนโลกตลอดเวลา 24 ชั่วโมง

GPS

จากการความสามารถดังกล่าว ทำให้ระบบดังกล่าวมีประสิทธิภาพ ในการบอกตำแหน่งบนพื้นโลก อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนสำหรับประชาชนทั่วไป เพราะเดิมทีระบบ GPS เป็นระบบที่ถูกใช้งานการทหารของ กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา เท่านั้น

ด้วยความสามารถของ GPS ทำให้เราสามารถนำข้อมูลตำแหน่งมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น
1.    1. GPS หาตำแหน่งที่แน่นอนบนพื้นโลกของเรา ป้องกันการหลงทางในการหาจุดอ้างอิงต่างๆ เช่น ร้านอาหารโปรด สถานีตำรวจ

GPS

2.    2. GPS ใช้ในการแนะนำเส้นทางไปยังจุดต่างๆ บนโลก ดังที่เราเรียกว่า ระบบนำทาง” หรือ “Navigator” ซึ่งมีให้กันใช้อยู่ทั่วไปในปัจจุบัน

GPS

 3. ใช้ในการติดตามบุคคล หรือ ติดตามยานพาหนะ เพื่อใช้ในการตรวจสอบเส้นทางการเดินทาง ที่ผ่านมา
GPS
ทั้งนี้ ยังมีประโยชน์อีกมากมายที่จะสามารถประยุกต์ใช้งานได้มากมาย กับระบบ GPS

หลักการทำงาน GPS
       หลักการของเครื่อง GPS คือ การคำนวณระยะทางระหว่างดาวเทียมกับอุปกรณ์รับ GPS โดยจะต้องทราบตำแหน่งของดาวเทียมแต่ละดวง ประกอบกับได้ระยะทางจากดาวเทียม 3 ดวง ขึ้นไปแล้ว อุปกรณ์ GPS ก็จะสามารถคำนวน หาจุดตัดกันของผิวทรงกลม ของระยะทางของดาวเทียม GPS แต่ละดวงได้
       ดังนั้น ในทางทฤษฏี สิ่งที่อุปกรณ์ GPS จำเป็นต้องทราบในการคำนวนหาตำแหน่งแต่ละครั้ง คือ
1. ตำแหน่ง ดาวเทียม GPS ในอวกาศ อย่างน้อย 3 ดวง
2. ระยะห่างจาก ดาวเทียม GPS แต่ละดวง
       โดยการจะได้มาซึ่ง ข้อมูลทั้ง 2แบบ ในทางปฏิบัติ คือ
       1.การได้มา ซึ่ง ตำแหน่งดาวเทียม GPS ในอวกาศ
       การได้มา ซึ่งตำแหน่งดาวเทียม GPS ในอวกาศ จะต้องได้มีข้อมูลประกอบ 2 ตัว คือ
a.   ข้อมูลวงโคจร       : จะทำให้อุปกรณ์ GPS ทราบว่า เส้นทางการเดินทางของดาวเทียม GPS แต่ละดวงจะอยู่ ณ ตำแหน่งใด เมื่ไร
b. เวลาปัจจุบัน : ซึ่งเมื่ออุปกณ์ GPS ทราบ เวลาปัจจุบัน แล้ว ก็จะใช้เวลาปัจจุบัน ไปคำนวนหาตำแหน่ง ของดาวเทียม GPS จากข้อมูลวงโคจรได้
       ดังนั้น เมื่ออุปกรณ์รับ GPS ทราบ ข้อมูลวงโคจร ดาวเทียม GPS และเวลาปัจจุบัน อุปกรณ์รับ GPS ก็จะทราบตำแหน่ง ดาวเทียมในอวกาศได้ ซึ่งข้อมูลทั้งหมด จะได้มาจากสัญญาณดาวเทียมที่อุปกรณ์รับ GPS ตัวนั้นรับได้
       2. การได้มา ซึ่ง ระยะห่างของอุปกรณ์รับ GPS กับ ดาวเทียม GPS แต่ละดวง
       เนื่องจาก การเตินทางของคลื่นสัญญาณ GPS นั้น จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่(vคงที่) คือ ความเร็วแสง (186,000ไมล์ต่อวินาที) ซึ่งเมื่อเป็นดังนั้น ถ้าอุปกรณ์รับ GPS รู้ระยะเวลา(t) ที่สัญญาณใช้ในการเดินทางจาก ดาวเทียม GPS มายังอุปกรณ์รับ GPS ก็จะสามารถคำนวนระยะทางระหว่าง ดาวเทียม GPS กับ อุปกรณ์รับ GPS ได้ จากสูตร
       ความเร็ว X เวลา = ระยะทาง
       ซึ่งเมื่อเราทราบระยะห่างของดาวเทียมกับอุปกรณ์ GPS มากเท่าไร เราก็จะหาจุดของผิวทรงกลม ทำให้อุปกรณ์ GPS สามารถทราบว่าตัวเองอยู่นะจุดใดบนพื้นโลกได้ เช่น
       ดาวเทียม GPS 1 : ลอยอยู่ ณ จุดหนึ่งในอวกาศ ซึ่งเรารู้ตำแหน่ง จากข้อมูลวงโคจร GPS และ เวลาปัจจุบัน ระยะเวลาในการส่งสัญญาณจากดาวเทียมดวง GPS 1 ถึงเครื่องรับ GPS คือ 0.10 วินาที ระยะทางระหว่างดาวเทียมกับ GPS 1 คือ 18,600 ไมล์ (186,000 ไมล์ต่อวินาที X 0.10 วินาที = 18,600 ไมล์)
       ดังนั้น ตำแหน่งปัจจุบัน ของเครื่องรับ GPS ก็จะสามารถเป็นจุดใดๆ ก็ได้ บนผิวทรงกลมที่มีรัศมี 18,600 ไมล์
รูปโลก โดน สัมผัสด้วยทรงกลม ใส
       ดาวเทียม GPS 2 : ระยะเวลาในการส่งสัญญาณจากดาวเทียมดวง GPS 2 ถึงเครื่องรับ GPS คือ 0.08 วินาที ระยะทางระหว่างดาวเทียมกับ GPS 2 คือ 13,200 ไมล์ (186,000 ไมล์ต่อวินาที X 0.08 วินาที = 13,200 ไมล์)
       ดังนั้น ตำแหน่งปัจจุบัน ของเครื่องรับ GPS ก็จะสามารถเป็นจุดใดๆ ก็ได้ บนเส้นรอบวงที่เป็นการตัดกันของ ทรงกลมรัศมี 18,600ไมล์ ของดาวเทียม GPS 1 กับ ทรงกลมรัศมี 13,200ไมล์ ของดาวเทียม GPS 2
รูปโลก โดน สัมผัสด้วยทรงกลม ใส 2 วง
       ดาวเทียม GPS 3 : ระยะเวลาในการส่งสัญญาณจากดาวเทียมดวง GPS 3 ถึงเครื่องรับ GPS คือ 0.06 วินาที ระยะทางระหว่างดาวเทียมกับ GPS 3 คือ 11,160 ไมล์ (186,000 ไมล์ต่อวินาที X 0.06 วินาที = 11,160 ไมล์)
       ดังนั้น ตำแหน่งปัจจุบัน ของเครื่องรับ GPS ก็จะสามารถเป็นได้แค่ 2 จุด ที่เกิดจากจุดตัดของ ผิวทรงกลมรัศมี 18,600ไมล์ ของดาวเทียม GPS 1 กับ ผิวทรงกลมรัศมี 13,200ไมล์ ของดาวเทียม GPS 2 และ ผิวทรงกลมรัศมี 11,160 ไมล์ ของดาวเทียม GPS3
รูปโลก โดน สัมผัสด้วยทรงกลม ใส 3 วง
       ดังนั้น หากอุปกรณ์ GPS ยิ่งสามารถรับสัญญาณจากดาวเทียม GPS มากดวงเท่าไร ก็จะยิ่งสามารถ ระบุตำแหน่งได้แม่นยำยิ่งขึ้น
       ในกรณี ที่อุปกรณ์รับ GPS สามารถรับสัญญาณ GPS ได้จากดาวเทียม GPS เพียง 3 ดวง อุปกรณ์รับ GPS จะมีความสามารถในการประมาณตำแหน่งบนพื้นโลกได้ และจะตัดจุดที่ไม่ใช่ตำแหน่งบนพื้นโลกทิ้งไป ทำให้เหลือเพียงตำแหน่งแหน่งเดียวที่เป็นไปได้
       จะเห็นได้ว่าจะเหลือตำแหน่งอยู่ 2 จุดที่บริเวณวงกลมทั้ง 3 ตัดกันคือตำแหน่งที่ อยู่ในอวกาศซึ่งแน่นอนว่าเราไม่สามารถไปอยู่ในอวกาศได้ตำแหน่งนี้จะถูกตัดทิ้งอัตโนมัติ โดยเครื่อง GPS อีกตำแหน่งคือตำแหน่งบนพื้นโลกซึ่งเป็นตำแหน่งที่เรายืนถือเครื่อง GPS อยู่นั้นเองซึ่งความถูกต้องแม่นยำของตำแหน่งก็ขึ้นกับจำนวนดาวเทียมที่สามารถรับ สัญญาณ ได้ในขณะนั้นหากมีมากกว่า 3 ดวงก็จะละเอียดมากขึ้น และก็ขึ้นกับเครื่อง GPS ด้วย หากเป็นเครื่องที่มีราคาแพง ( ซึ่งมักใช้เฉพาะงาน) ก็จะมีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น

GPS แบบ Navigator คือ อะไร


GPS:Navigator 
GPS แบบ Navigator คือ ระบบนำทางซึ่งในปัจจุบันเราจะพบมากทั้งในมือถือ PDA หรือแม้กระทั่งในรถยนต์ที่มีการเสริมในส่วนของระบบนำทางเข้าไป ซึ่งระบบ GPS แบบ Navigator นั้น โดยทั่วไปจะมีวิธีการโดยทั่วๆไปเหมือนกัน ดังนี้นะครับ
ระบบ GPS แบบ Navigator นั้นจะใช้ ดาวเทียมในการส่งค่าเพื่อคำนวณตำแหน่งและพิกัดโดยใช้ตัวรับสัญญาณ GPSเพื่อเป็นการบอกตำแหน่งที่อยู่บนพิกัดโลก ซึ่งใช้ในการคำนวณจากตำแหน่งที่อยู่ปัจจุบันไปยังจุดหมายปลายทาง ซึ่งจะใช้งานร่วมกับ “ระบบแผนที่” โดยการใช้วิธีจับคู่ตำแหน่งต่างๆที่อ่านได้จากดาวเทียมกับค่าพิกัดในระบบแผนที่ทั้งนี้อาจอาศัยเซ็นเซอร์อื่นๆช่วยในการคำนวณระยะทางที่เดินทางได้แน่นอนขึ้น
ภาพรวมการทำงานของระบบ GPS แบบ Navigator
GPS:Navigator

          การทำงานของระบบ GPS แบบ Navigator นั้น จะใช้ Software ตัวขับเคลื่อนพื้นฐาน ในตัวของ GPS ทำงานร่วมกับระบบแผนที่ ซึ่งในตัวของ GPS แบบ Navigator ซึ่งตัว Software และ ระบบแผนที่นี่เองเป็นจุดแตกต่างของ GPS ในแต่ละยี่ห้อ แต่ทั้งนี้ Software ตัวหลักในการประมวลผลนั้นมีด้วยกัน ดังนี้ครับ
·         GPS receiver & positioning system
·         Map drawer
·         Address search
·         Route calculator
·         Voice guidance
·         On Board/Off board Navigation
GPS receiver & positioning system
จะเป็นระบบที่คอยรับค่าพิกัดโลกจากดาวเทียม ซึ่งต้องอาศัยดาวเทียมอย่างน้อย ดวงในการประมวลผลเพื่อที่จะสามารถบอกพิกัด แบบละติจูดและลองติจูดของตัวนำทางในการหาตำแหน่งของตัวนำทางและนำค่าพิกัดมาแสดงผลในระบบนำร่อง
GPS:Navigator

Map drawer
Map drawer จะเป็นแผนที่ที่ปรากฎอยู่ในระบบนำร่องซึ่งจะได้มาจากบริษัทที่ผลิตอุปกรณ์ GPS ซึ่งในแต่ละบริษัทก็อาจจะมีสัญลักษณ์และความละเอียดแตกต่างกันไป
GPS:Navigator

Address search
Address search เป็น software ที่ใช้ในการค้นหาตำแหน่งที่อยู่ต่างๆที่เราสนใจ (User Location) รวมถึงใช้หาจุดPOI (Point of Interest) ซึ่งข้อมูลต่างๆนั้นเป็นข้อมูลพื้นฐานที่บริษัททำแผนที่ได้ทำไว้ โดยซอฟแวร์ส่วนที่ทำการค้นหาที่อยู่และ POI จะทำการค้นหาจากระบบดาตาเบสที่ได้เก็บข้อมูลไว้ในตัว GPS เพื่อใช้ในการประมวลผล ซึ่งแยกกันอยู่คนละส่วนกับMap drawer และอาจจะเสนอในรูปแบบฟังก์ชันในรูปแบบต่างๆกันในแต่ละบริษัท เช่น ฟังก์ชั่นการค้นหาอย่างฉลาด เป็นต้น การค้นหา POI ประเภทต่างๆ จากระยะทางหรือในเมืองนั้นๆ POI อาจมีการใส่เข้าไปได้เองตามแต่ชนิดของ GPS
หมายเหตุ POI จะเป็นจุดที่แสดงบนแผนที่อยู่แล้วเช่นวัด ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น ส่วน User Location นั้นจะเป็นจุดที่ผู้ใช้งานสนใจหรือกำหนดไว้เป็นจุดเริ่มต้น หรือ จุดหมายปลายทาง
Route calculator
Route calculator เป็น Software ที่ใช้คำนวณระยะทางจากจุดเริ่มต้น ไปยังตำแหน่งที่ผู้ใช้กำหนด
Voice guidance
Voice guidance คือ เสียงพูดที่คอยบอกทางซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละยี่ห้อของ GPS เช่น “อีก 100 เมตร เลี้ยวซ้าย”
GPS:Navigator
On Board/Off Board Navigation
On Board Navigation จะเป็น Software ที่ช่วยในการตรวจสอบเส้นทาง เช่น เมื่อเราได้ทำการกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดหมายให้กับ GPS แบบ Navigator แล้ว ภายในตัว GPS จะทำการจดจำเส้นทาง เมื่อเราขับรถออกนอกเส้นทางที่ได้ทำการคำนวณไว้ On Board จะทำการส่งเสียงเตีอนและหาเส้นทางใหม่โดยอัตโนมัติจะใช้ในระบบนำทางในรถยนต์(Car Navigation System) โดยเป็นระบบ Real time ส่วน Off Board Navigation จะแตกต่างจาก On Board เล็กน้อยเพราะระบบ Off Boardไม่ใช่ระบบ Real time แอปพลิเคชันเท่าที่ปรากฏให้เห็นคือ ระบบนำทางที่ใช้ใน มือถือหรือ PDA ผ่านระบบ GPRS ซึ่งไม่มีความจำเป็นต้องใช้แบบ Real time นั่นเอง
นอกจาก Software ต่างๆแล้วอีกตัวที่จะขาดไม่ได้เลยในระบบ GPS แบบ Navigator คือ “ระบบแผนที่”
ระบบแผนที่
ระบบแผนที่ คือ แผนที่ที่ใช้ในระบบนำทางหรือ GPS แบบ Navigator ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานอย่างเป็นทางการส่วนใหญ่แผนที่ที่นิยมใช้กันโดนทั่วไปจะมาจาก บริษัทยักษ์ใหญ่ คือ แผนที่จากบริษัทนาฟเทค (NavTeq) และจากบริษัทเทเลเอตลาต (Tele Atlas) แต่นอกจาก บริษัทนี้ก็ยังมีบริษัทอื่นๆอีกแต่ไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากข้อมูลของแผนที่แต่ละประเทศมีขนาดข้อมูลมหาศาลและใช้เนื้อที่ในการเก็บขนาดใหญ่ ทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลทุกอย่างที่เพื่อใช้ในซอฟแวร์ของระบบนำร่องได้จึงได้มีการนำข้อมูลแผนที่นั้นมาทำการจัดเรียงใหม่เพื่อความเหมาะสม เพื่อประโยชน์ในเรื่องขนาดของแผนที่ๆต้องนำไปใช้ตลอดจนความรวดเร็วในการเข้าอ่านและประมวล ผลข้อมูล

GPS แบบ Tracking คืออะไร
ระบบติดตามยานพาหนะ หรือ ระบบติดตามบุคคล

        

     Tracking GPS สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายๆ โดยลองนึกภาพถึงภาพยนต์บู๊เชิงวิทยาศาสตร์ ที่พระเอกโดนติดตามโดยตัวร้ายด้วยการเอากล่องเหล็กๆ แปะไว้ใต้ท้องรถ หรือแอบใส่ในเสื้อนางเอก แล้วตัวร้ายก็สามารถดูพระเอกได้ผ่านจอ Computer ที่มีแผนที่ถนนแสดงนั้น เรื่องราวเหล่านี้ไม่ใช่เป็นค่าภาพยนต์อีกแล้ว (หน่วยราชการไทยบางหน่วยก็มีใช้) ในปัจจุบัน เทคโลยี GPSถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย สำหรับการนำมาใช้เพื่อภาคธุรกิจ การติดตั้ง Tracking GPS เป็นเรื่องง่ายมาก เพียงแค่ติดตั้ง กล่องดำ GPS ในรถขององค์กร แค่นี้ เราก็สามารถดูได้แล้วว่าลูกน้องเราไปไหนมาบ้าง ผ่านหน้าจอ Computer ที่ Office เหมือนกับที่เค้าทำกันในหนังวิทยาศาสตร์แล้ว

GPS : Tracking


          GPS แบบ Tracking หรือที่เรียกว่า ระบบติดตามยานพาหนะ”  ซึ่งในปัจจุบัน เป็นเทคโนโลยีที่ได้ถูกพัฒนาขึ้น มาเพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ในองค์กรและหน่วยงานต่างๆที่มีความต้องการการบริหาร พนักงานและ ยานพาหนะในองค์กร ให้ทำงานไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ระบบ GPS แบบ Tracking เข้ามามีบทบาท ในการตรวจสอบพฤติกรรม และในการวัดผลต่างๆ ด้วยเหตุว่ามีความ รวดเร็ว และถูกต้อง แม่นยำ ของระบบติดตามยานพาหนะ หรือ GPS แบบTracking จะทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถทราบพฤติกรรมของพนักงาน เสมือนอยู่กับเค้าตลอดเวลา
GPS : Tracking 
ประโยชน์ของ GPS แบบ Tracking
1.    ทราบถึงปัจจุบัน สถานะต่างๆ ของสิ่งที่เราต้องการติดตามไม่ว่าเป็นคน หรือยานพาหนะ ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญ เช่น ตำแหน่งในปัจจุบัน
2.    ทราบถึงอดีต รายงานย้อนหลัง หลายๆ อย่างในระบบยานพาหนะได้ เช่น การคำนวนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อวัน ระยะทางที่วิ่งต่อวัน เนื่องจากทั่วไป ระบบ Tracking GPSส่วนใหญ่จะมีรายงานย้อนหลัง เพื่อใช้ในวิเคาระห์สำหรับผู้ดูแลระบบ
3.    เพิ่มความปลอดภัยในการขนส่ง เนื่องจากในหลายๆ ผู้ผลิต Tracking GPS เราสามารถทราบตำแหน่ง และความเร็วของ ยานพาหนะเราในปัจจุบันได้ ทำให้สามารถเตือนผู้ขับขี่ได้เมื่อมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการประสบอุบัติเหตุ รวมถึงบางผู้ผลิตสามารถมีระบบแจ้งเตือนอัตโนมัติมายังผู้ควบคุมและไปยังพนักงานขับรถได้ในทันที ที่มีปัจจัยเสี่ยงตามเงื่อนไข เช่น วิ่งเร็วเกินที่กำหนด หรือ วิ่งออกนอกเส้นทางที่วางแผนไว้
4.    วางแผนเส้นทางทำงานล่วงหน้า ผู้ผลิต Tracking GPS บางราย ระบบสามารถวางแผนงานไว้ล่วงหน้าก่อนการเดินทางจะมาถึง และระบบสามารถวิเคราะห์ แจ้งเตือนเมื่อมีการทำงานนอกแผนที่วางไว้
5.    ลดการทุจริต ผู้ผลิต Tracking GPS บางราย ระบติดตามยานพาหนะ สามารถตรวจสอบระดับน้ำมันเชื้อเพลิง และสรุปการจอดของยานพาหนะทั้งหมดได้ ซึ่งข้อมูลอย่างดีในกรณี การขโมยน้ำมันเชื้อเพลิง หรือแอบขายอะไหล่ ได้
ประเภทของ GPS แบบ Tracking
GPS แบบ Tracking (ระบบติดตามยานพาหนะถูกแบ่งออกเป็น แบบประเภทใหญ่ๆ
1.    GPS Tracking แบบ Off-line : เป็นการนำเทคโนโลยี GPS มาผสมกับหน่วยความจำ( Memory ) ซึ่งจะทำให้ผู้ดูแลระบบ สามารถทราบข้อมูลในอดีตของยานพาหนะที่ต้องการติดตามโดยมีหลักการทำงานดังนี้

GPS : Tracking 
a.    อุปกรณ์ GPS Tracking แบบ Off-line จะรับข้อมูลตำแหน่งยานพาหนะ GPSและข้อมูล Sensor อื่นๆ ภายในรถ เช่น ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง ปริมาณระดับความร้อนของเครื่องยนต์ สัญญาณการติดเครื่องยนต์ , สัญญาณการเปิดเครื่องปรับอากาศ สัญญาณการเปิดตูสินค้า ซึ่งการรับข้อมูลต่างๆ จากยานพาหนะนี้ จะถูกจัดเก็บตลอดเวลาการทำงาน
b.    ข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บสู่ หน่วยความจำ (Memory) ภายในอุปกรณ์ โดยปกติจะสามารถเก็บไว้ได้เป็นระยะเวลานาน หลายๆ วัน
c.    เมื่อยานพาหนะกลับมายังบริษัท ผู้ดูและระบบ GPS Tracking แบบ Off-line ก็จะนำข้อมูลที่อุปกรณ์เก็บไว้ตลอดระยะเวลาเดินทาง มาเก็บไว้ใน Computer ซึ่งด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน สามารถทำได้หลายวิธี เช่น เดินไปหยิบMemoryมาเสียบเข้า Computer โดยตรง , มีอุปกรณ์วิทยุส่งข้อมูลจากอุปกรณ์มาComputer ที่มีเครื่องรับ ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่ไกลกันมากนัก
d.    เมื่อข้อมูลในอดีตของรถ ถูกเก็บเข้าไปใน Computer แล้วเราก็สามารถนำข้อมูลมาใช้งานได้ เช่น ดูการเดินรถย้อนหลัง และรายงานอื่นๆ
สำหรับผู้จำหน่าย Off-line Tracking GPS ในประเทศไทย ได้แก่ DTC, TAFF เป็นต้น ซึ่งGPSdeedee.com จะนำมา Review ให้ในโอกาสถัดไปนะครับ

2.    GPS Tracking แบบ On-line : เป็นอีกขั้นหนึ่งของเทคโนโลยี GPS คือมีการนำระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก GPS มารวม ระบบโครงข่ายสื่อสาร เช่น วิทยุ , SMS , GPRS ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อยอดจาก แบบ Off-line ทำให้ระบบ Tracking GPSแบบ On-line สามารถแสดงตำแหน่งยานพาหนะในปัจจุบัน ได้ในทันที เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ดูแลอย่างมากมาย โดยมีหลักการทำงาน ดังนี้

 GPS : Tracking
a.    อุปกรณ์ GPS Tracking แบบ On-line จะรับข้อมูลตำแหน่งยานพาหนะ GPSและข้อมูล Sensor อื่นๆ ภายในรถ เช่น ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง ปริมาณระดับความร้อนของเครื่องยนต์ สัญญาณการติดเครื่องยนต์ , สัญญาณการเปิดเครื่องปรับอากาศ สัญญาณการเปิดตูสินค้า ซึ่งการรับข้อมูลต่างๆ จากยานพาหนะนี้ จะถูกจัดเก็บตลอดเวลาการทำงาน
b.    ข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บสู่ หน่วยความจำ (Memory) ภายในอุปกรณ์ โดยปกติจะสามารถเก็บไว้ได้เป็นระยะเวลานาน หลายๆ วัน
c.    ข้อมูลจะถูกส่งออกมาจากอุปกรณ์ไปยัง Server กลาง ในทันที โดยไม่ต้องรอให้ยานพาหนะกลับมายังบริษัท โดยโครงข่ายสื่อสาร เช่น วิทยุ , SMS แต่ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน คือ GPRS(General Package Radio Service)เพราะสามารถส่งข้อมูลได้ในปริมาณมากๆ โดยที่มีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงนัก
d.    ผู้ดูแลระบบสามารถดูข้อมูลของรถในปัจจุบัน และในอดีตได้ ผ่าน Computerได้อย่างสบายๆ
สำหรับผู้ผลิต On-line Tracking GPS ในประเทศไทย ได้แก่ Mobile Innovation, DTC, Forth Tracking, Mappoint Asia, Bangkok guide เป็นต้น ซึ่ง GPSdeedee.comจะนำมา Review ให้ในโอกาสถัดไปนะครับ

AGPS คืออะไร
      ความเป็นมาของ AGPS
        ความเป็นมาของ AGPS เกิดจาก ในการคำนวนตำแหน่ง ของอุปกรณ์ GPS นั้น จะต้องอาศัยข้อมูล 3 อย่าง ในการคำนวนหาตำแหน่งของเครื่องรับ GPS บนพื้นโลก
1.   ข้อมูลวงโคจร
2.   เวลาปัจจุบัน
3.   ระยะเวลาในการเดินทางของสัญญาณ GPS จาก ดาวเทียมมาสู่เครื่องรับ GPS
        เนื่องจากได้มาซึ่งข้อมูลทั้ง 3 อย่างจากดาวเทียม GPS อย่างน้อย 3 ดวง จากสัญญาณ GPS ตรงๆ นั้น มีข้อจำกัดอยู่หลายประการณ์ เช่น
1.   ใช้เวลานาน ในการหาตำแหน่ง: การรับสัญญาณ GPS ของอุปกรณ์รับ GPS จะสามารถ synchronize(เชื่อมต่อข้อมูล GPS) ได้สมบูรณ์ โดยเฉพาะ ข้อมูลวงโคจร ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญและมีขนาดใหญ่ การรับสัญญาณ GPS ครั้งแรก ประมาณ 30 วินาที ในกรณี ไม่มีการเคลื่อนที่ หากมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาก็จะใช้เวลามากกว่านั้นมาก
2.   สัญญาณ GPS ที่มาถึงโลกอ่อนและถูกบดบังได้ง่าย : สัญญาณ GPS สามารถถูกบดบังได้ง่ายจากโลหะ ทำให้จำเป็นต้องให้อุปกรณ์ GPS เห็นท้องฟ้า คือต้องอยู่ในที่โล่งแจ้ง จึงจะสามารถรับสัญญาณ GPS ได้ดี ซึ่งหากอยู่ในที่มีการบดบัง เช่น เขตอาคารสูง ก็จะเกิดอาหาร Miltipath ซึ่งทำให้เกิดอาการกระโดดไปมาของการแสดงตำแหน่ง
3.   สิ้นเปลืองพลังงาน: การที่จะให้ได้ตำแหน่งที่ต่อเนื่อง จำเป็นต้องเปิด Synchonize ดาวเทียมตลอดเวลา ซึ่งทำให้มีปัญหาพลังงานไม่เพียงพออยู่บ่อยครั้ง เพราะ Chipset GPS จะกินพลังงานอยู่ ที่ 80-20 mA ซึ่งถือว่ามากสำหรับ Battery ลูกเล็กๆ ของโทรศัพท์มือถือ
        จากปัญหาดังกล่าว จึงมีการค้นคิดหาวิธีที่จะทำให้ GPS สามารถทำงานได้เร็วขึ้นและสิ้นเปลืองพลังงานน้อยลง ประกอบกับเทคโลยี ด้านการสื่อสารของโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีความเร็วมากขึ้นและการมีการใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ทำให้มีการพัฒนาจาก GPS ทั่วไป มาเป็น A-GPS โดยหลักการ ในการแก้ปัญหาขั้นต้น ดังนี้
      หลักการทำงานของ AGPS
        A-GPS ย่อมาจาก Assisted GPS(จีพีเอสช่วยเหลือ) เป็นระบบ GPS (GPS ย่อมาจาก Global Positioning system คนละเรื่องกับ GPRS) ที่มีสนับสนุนข้อมูลที่ต้องการผ่านระบบ GPRS : General package radio service ซึ่งเป็นการบริการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงบนระบบโครงข่าย โทรศัพท์เคลื่อนที่ แทน การรับข้อมูลต่างๆ ตรงจาก ดาวเทียม GPS ซึ่งใช้เวลานาน โดยมีหลักการดังนี้
AGPS A-GPS
1.   สนับสนุน ข้อมูลวงโคจร และ เวลาปัจจุบัน ผ่านระบบ GPRS : โดยปกติ GPS ต้องรับ ข้อมูลวงโคจร และข้อมูลเวลาปัจจุบัน จากสัญญาณ GPS โดยตรง ซึ่งทำให้ช้า หลังจากการพัฒนาระบบ AGPS จึงเปลี่ยนการรับข้อมูลทั้งไป ผ่านโครงข่าย GPRS โดยเอาข้อมูลมาจาก GPS Base Station ซึ่งจะค่อยรับ ข้อมูลวงโคจร GPS และ เวลาปัจจุบัน จากดาวเทียม GPS โดยตรง ทำให้อุปกรณ์สามารถทำงานได้เร็ว เพราะอุปกรณ์รับ GPS สามารถได้ข้อมูลทั้ง 2 จาก เครือข่าย GPRS ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลเร็วกว่า สัญญาณ GPS มาก
2.   รับ ข้อมูลตำแหน่ง คราวๆ จาก GPRS: นอกจากที่จะได้ข้อมูลที่จำเป็นในการหาตำแหน่งของเครื่องรับ GPS ผ่านเครือข่าย GPRS แล้ว ระบบ GPRS ยังส่งข้อมูลบอกต่ำแหน่งคราวๆ ให้เครื่องรับ GPS ได้อีกด้วย เพราะการอุปกรณ์รับสัญญาณ GPRS ได้นั้น จะต้องอยู่ในรัสมีทำการของ Cell phone Location หรือ Cell site โทรศัพท์ ซึ่งแต่ละ เสาส่ง Cell site โทรศัพท์ ก็จะมีตำแหน่งที่แน่นอนบนพื้นโลก ซึ่งเครื่อขาย GPRS ก็จะส่งค่าตำแหน่งของ เสาส่ง Cell site โทรศัพท์ มาให้ด้วย ทำให้อุปกรณ์รับ GPS สามารถรู้ตำแหน่งคราวๆ ของตัวเอง ก่อนที่จะรับสัญญาณ GPS ได้เสียงอีก ทำให้การประมวลผลหาตำแหน่งอย่างละเอียดทำได้เร็วขึ้นมาก
        จากเหตุผลดังกล่าว ทำให้ AGPS สามารถทำงานได้เร็วกว่า GPS ทั่วไป 5-10 เท่า คือสามารถหาตำแหน่งได้ในเวลาไม่ถึง 3 วินาที
        แต่ A-GPS ก็มีข้อจำกัด ดังนี้
1.   ใช้บริการ A-GPS ไม่ใช่ของฟรี : หากต้องการจะใช้ความเร็วของ A-GPS ผู้ใช้อุปกรณ์รับ GPS (GPS receiver) ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรศัพท์มือถือ ก็จะต้องเปิดบริการ GPRS หรือ EDGE กับผู้ให้บริการโครงข่ายมือถือ เช่น AIS , true, DTAC ซึ่งก็ต้องเสียเงินทั้งนั้น
2.   มีพื้นที่ให้บริการจำกัด : การให้บริการ AGPS ก็จะมีในเขตที่มีสัญญาณโทรศศัพท์มือถือเท่านั้น ดังนั้นหากคิดว่าจะซื้อโทรศัพท์มือถือ ที่มี AGPS จะมาเดินป่า ละก็ หมดสิทธิ์ ครับ เพราะมันก็จะกลายเป็น GPS ธรรมดาไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น